"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีสรรพสิ่ง? ไอน์ฯบอกไว้ก่อนจากว่า "read the mind of God" Steven Hawking มาต่อยอด เกิดจาก 4 สมการ 6 มิติ Nowรอคนมาไข http://bit.ly/bTeprZ

ทฤษฏีทุกสรรพสิ่ง ของปู่ไอน์สไตน์ แป้กแต่โดน??



I really wonder when i heard the meaning of theory of relativity, it's very carziest theory ever proposed..

Enistein spend 30 years on theory of relativity, but he couldn't explain. and it was unsuccessful..

If he had explained this theory ....it was to have been the ultimate achievement of 2,000 years of investigation into the nature of space and matter,

This is his third try..

His first theory of Special Relativity (1905) gave us E = mc², which led to the atomic bomb and unlocked the secret of the stars.....

His second great theory was General Relativity (1915), which gave us space warps, the Big Bang, and black holes......

But many don't realize that his greatest theory was never finished: "a theory of everything". Einstein's crowning achievement was to have been the unified field theory, an attempt to "read the mind of God"

Wonder theory ...

(Naked Science Forum)
 
 
ทฏษฏีเกิดขึ้นมาจากความพยายามรวมเอาสมการแรงทั้งสี่ชนิดไว้ด้วยกัน ซึ่งมีปัญหาการรวมแรง G เข้ากับแรงอื่นๆอีกสามแรง

ทฤษฎีสตริงจริงเสนอไว้นานแล้วแต่นักวิทยาศาสตร์ช่วงนั้นยังเชื่อเรื่องอนุภาคมูลฐานยังต้องเป็นอนุภาคอยู่ จึงไม่ได้ตีพิมพ์ ดังนั้นคนที่เสนอจึงต้องพยายามพิสูจน์ทฤษฏีนี้

ในที่สุดทฤษฏีนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่มันก็ยังมีปัญหาอีกคือ ทฤษฏีนี้สามารถพัฒนาออกมาได้เป็น 5 เวอร์ชั่น ซึ่งมีความถูกต้องเหมือนกัน (จากสมการ) ดังนั้น อันไหนละที่ถูกต้องกับจักรวาลที่เราอยู่ (นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแต่ละแบบอาจอธิบายจักรวาลในแบบต่างๆในมิติอื่นๆ คือมีเอกภพขนาน จากสมการบอกว่ามันมีอยู่ 6 มิติ)

นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำบางคนกล่าวว่า ทฏษฏีนี้ไม่มีทางพิสูจน์ได้ เพราะเขาเชื่อว่าต้องใช้พลังงานมหาศาลเหลือเกินในการที่จะตรวจสอบได้สตริงได้ บางท่านกล่าวว่าจะเรียกว่าทฤษฏีดีหรือปรัชญาดี เพราะ เป็นทฤษฏีที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งขัดกับหลักการทางวิทยาศาสตร์

ก็ยังมีความพยายามพัฒนากันต่อไปละครับ จนกว่าจะหาทฤษฎีใหม่ที่อาจพิสูจน์ได้

 
 

 
Steven Hawking and The Theory of Everything

และ Kip S. Thorne คือเพื่อนของผู้ชายที่น่ามหัศจรรย์ผู้นี้
สตีเฟน ฮอว์คิง เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485
ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ
ศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505
ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509
หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

แต่ก่อนที่เค้าจะเรียนจบ สตีเฟน ฮอว์คิง ก็มีอาการที่เรียกว่า
amyotrophic lateral sclelar (ALS)
อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ
โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons)
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต
หมอบอกว่าเค้าจะมีอายุต่อไปอีกไม่เกิน 1-2 ปี
แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป และมีชีวิตยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้

งานที่ทำให้เค้าโด่งดังคือ การศึกษาเรื่องหลุมดำ
หลุมดำเป็นสิ่งที่ลึกลับที่สุดในจักรวาลนี้
มันมาจากสมการของไอน์สไตน์ที่กล่าวว่า
แสงนั้นมีความเร็วคงที่ และเดินทางเป็นเส้นตรง
แต่มีผ่านโค้งของอวกาศที่ถูกสร้างโดยสนามแรงโน้มถ่วงของมวลขนาดใหญ่
แสงนั้นสามารถบิดงอได้ เมื่อมีมวลมากจนถึงจุดหนึ่ง
แรงโน้มถ่วงจะมาก จนแม้แต่แสงก็ยังไม่สามารถผ่านออกมาได้
และทุกอย่างจะสูญหายไปในหลุมดำนั้น

แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่อยากจะเชื่อว่า เรื่องนี้จะเป็นไปได้
แต่มันก็ได้รับการพิสูจน์แล้ว ว่ามันมีอยู่จริง

นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาอย่าง สตีเฟน ฮอว์คิง เชื่อว่า
ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะถูกดูดหายเข้าไปในนั้น
หลุมดำมีการปลดปล่อย sub-atomic particle ออกมา
ที่ทุกวันนี้เรียกว่า Hawking radiation
และเค้าได้พยายามที่จะศึกษามันต่อไป เพื่อไขความลับของหลุมดำออกมา

นานมาแล้วที่ชายหนุ่มคนหนึ่ง กับตำนานใต้ต้นแอปเปิ้ลของเค้า
ได้สร้างกฏฟิสิกส์ที่โด่งดังที่สุด และเราก็ยังใช้มันมาถึงทุกวันนี้
มันสามารถใช้สร้างยานอวกาศ อธิบายถึงวงโตจรของดาวเคราะห์
น้ำขึ้น น้ำลง ด้วย กฏของนิวตั้น

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราเริ่มศึกษาสิ่งที่อยู่ไกลออกไปนอกสุริยะจักรวาล
สิ่งที่มีความเร็วมากขนาดใกล้เคียงแสง กฏของนิวตั้นไม่อาจใช้อธิบายได้อีกต่อไป
จึงเกิดนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่คนที่สอง ที่เรารู้จักกันในนาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ผู้ที่คิดค้นที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
พูดถึงพลังงานและสสาร โดยเพิ่มความรับรู้ของเราไปยังอีกหนึ่งมิติ
มิติที่สี่ มิติแห่งกาลเวลา แต่ทั้งสองทฤษฏีที่เป็นระเบียบและสวยงามนี้
กลับใช้ไม่ได้กับสิ่งที่เล็กจิ๋วอย่างอะตอม
ซึ่งต้องใช้อีกทฤษฏีหนึ่งอธิบายของธรรมชาติของมัน
ซึ่งแทบจะก้าวข้ามความรับรู้ของมนุษย์ธรรมดาออกไป
กับความไม่แน่นอนของ กลศาสตร์ควอนตัม

แล้วทำไมเราต้องใช้หลายทฤษฏีมาอธิบายด้วยล่ะ ???
ในเมื่อทุกสิ่งในจักรวาลล้วนก่อกำเนิดมาจากจุดเดียวกัน
จะมีทฤษฏีใดใหมที่สามารถอธิบายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ตั้งแต่สิ่งที่เล็กจิ๋วอย่าง อิเลคตรอน ไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่มากอย่าง กาแล๊กซี่
ที่เราเรียกมันว่า ทฤษฏีทุกสรรพสิ่ง

ที่มา : Science Geek Club
Book : Steven Hawking and The Theory of Everything
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น: