ทำไมปลาจึงไม่ถูกไฟดูดตายเวลามีฟ้าผ่าลงที่ผิวน้ำ??
ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าทำให้ปลาถูกไฟดูดเหมือนกันถ้ามันอยู่ใกล้จุดที่ฟ้าผ่ามากๆ อย่างไรก็ตาม กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่ามักกระจายตัวไปตามผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการปกป้องสัตว์น้ำทั้งหลายตามกลไกธรรมชาติ เหตุผลอีกอย่างที่ทำให้เราไม่เห็นปลาตายเป็นแพหลังฟ้าผ่าเนื่องจากฟ้าไม่ค่อยผ่าลงบริเวณผิวน้ำ
ปลามีปฏิกิริยาทางกล้ามเนื้ออัตโนมัติเวลามีกระแสไฟฟ้าอยู่ในน้ำ ทำให้ปลารีบว่ายหนีไปยังทิศทางที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ตัวปลายังเป็นสื่อนำไฟฟ้าน้อยกว่ามนุษย์และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อเป็นน้ำเค็มหรือโคลน อย่างไรก็ตาม สำหรับมนุษย์ หากเห็นพายุเริ่มตั้งเค้าก็ควรอยู่ให้ไกลจากแหล่งน้ำทั้งหลาย กิจกรรมที่จัดว่าอันตรายที่สุดเวลาเกิดพายุฝนฟ้าคะนองคือการพายเรือ ตกปลา และว่ายน้ำ
จริงหรือไม่ที่ฟ้าไม่เคยผ่าซ้ำที่เดิม??
"ไม่จริงแน่นอน" เดวิด ฟิลลิปส์ นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโสแห่งศูนย์อุตุนิยมวิทยาแคนาดา กล่าว และเสริมว่า "เป็นความเชื่อที่มีมายาวนานว่าถ้าสิ่งใดถูกฟ้าผ่าแล้วครั้งหนึ่งจะไม่ถูกผ่าอีกครั้ง"
ตึกสูง หอส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงยอดภูเขาสูงมีแนวโน้มจะถูกฟ้าผ่าหลายครั้งทุกปี ตัวอย่างเช่น ซีเอ็นทาวเวอร์ในเมืองโทรอนโตของแคนาดา คาดว่าถูกฟ้าผ่า 75 ถึง 150 ครั้งต่อปี
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพื้นที่ซึ่งเกิดฟ้าผ่าบ่อยที่เรียกว่าจุดยอดนิยม โดยเกิดจากอากาศอุ่นชื้นและอากาศเย็นมาปะทะกันเสมอจึงก่อให้เกิดความแปรปรวน
ที่มา : หนังสือ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ชุด รู้ไว้ไช่ว่า พ.ศ. 2550
นิตยสารรีดเดอร์ไดเจสต์ พ.ค. 2549
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--
ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น