"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หมาทำหน้าเจี๋ยม?? หน้าสำนึกผิดของหมา ผลวิจัยบอกเกิดจากพฤติกรรมคน เช่น เสียงดุ และดูอาการหมาว่าอาจจะทำผิดมา แต่ชัดว่าหมามีfeelingได้เหมือนคน

จริงๆ แล้วอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น ? หน้าตาสำนึกผิดของหมา



อะไร ทำให้หมาทำหน้าตาสำนึกผิดเมื่อเจ้าของกลับมาบ้านแล้วมีแจกันแตกหรือว่าสิ่ง ของมีค่าเสียหาย? โดยการสร้างสถานการณ์อย่างแนบเนียนให้เจ้าของได้รับข้อมูลผิดๆ ว่าหมาของพวกเขาได้ทำความผิด Alexandra Horowitz ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Barnard College ในนิวยอร์ค ได้เปิดเผยถึงที่มาของ ?หน้าตาสำนึกผิด? ของหมาในหนังสือที่พึ่งตีพิมพ์ ?นิสัยและการรับรู้ของสุนัข? ฉบับพิเศษของกระบวนการทางนิสัยของ Elsevier

Horowitz สามารถ แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มที่มนุษย์สามารถทำให้หมาทำหน้าตาสำนึกผิดไม่ได้เกิด จากความจริงว่าหมาตัวนั้นทำผิดจริงๆ หรือไม่ แต่มนุษย์จะคิดว่าหมาได้ทำความผิดจากภาษากายของมันและเชื่อว่ามันได้ทำสิ่ง ที่ไม่ควรทำ แม้ว่าความจริงแล้วหมาไม่ได้ทำอะไรผิดเลย

ระหว่างการศึกษา เจ้าของหมาได้ถูกขอให้ออกไปจากห้องหลังจากสั่งหมาของตนไม่ให้กินอาหารที่ดูน่ากิน และเมื่อเจ้าของออกไปจากห้อง Horowitz ได้ ให้อาหารเหล่านี้แก่หมาก่อนที่จะบอกให้เจ้าของกลับเข้ามาในห้อง ในบางครั้งเจ้าของได้รับการบอกว่าหมาของตนได้กินของที่โดนห้าม และในบางครั้งพวกเขาได้รับการบอกว่าหมาของตนทำตัวดีและไม่ได้กินอาหารที่โดน ห้ามเลย อย่างไรก็ตามสิ่งที่เจ้าของได้ฟังมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง

พฤติกรรม ของหมาที่ทำหน้าตาสำนึกผิดมีความเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยกับความจริงว่าหมา ได้กินของที่โดนห้ามจริงๆ หรือไม่ หมาจะทำหน้าตาสำนึกผิดมากที่สุดเมื่อถูกเจ้าของว่า ความจริงแล้วหมาที่เชื่อฟังและไม่ได้กินของที่โดนห้ามแต่โดนเจ้าของว่า (เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่จริง) จะ ทำหน้าตาสำนึกผิดมากกว่าตัวที่กินจริงๆ เสียอีก ดังนั้นหน้าตาสำนึกผิดของหมาเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเจ้าของ และไม่จำเป็นว่าจะบ่งบอกถึงความรู้สึกผิดเมื่อมันทำผิด

การ ศึกษานี้นำไปสู่ความเข้าใจถึงแนวโน้มที่มนุษย์จะตีความหมายพฤติกรรมของหมาในแนวความคิดของมนุษย์ การเปรียบเทียบพฤติกรรมสัตว์กับมนุษย์ ถ้ามีความเหมือนกันอย่างผิวเผินดังนั้นพฤติกรรมสัตว์จะถูกตีความหมายคล้ายกับพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งรวมถึงอารมณ์ขั้นสูงขึ้น เช่น ความรู้สึกผิดหรือว่าเห็นอกเห็นใจตัวอื่นๆ



Clive D.L. Wynne แห่งคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัย University of Florida ซึ่งเป็นบรรณาธิการของหนังสือฉบับพิเศษนี้อธิบายว่า ?นี่ เป็นการสาธิตที่น่าทึ่งถึงความจำเป็นสำหรับการออกแบบการทดลองที่รอบคอบหาก เราต้องการจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และหมา และไม่ใช่เพียงแค่ทำความเชื่อที่เรามีต่อพฤติกรรมสัตว์ให้เป็นรูปธรรมเท่านั้น? เขาได้ชี้ให้เห็นว่าหมาเป็นสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดที่คนนำมาเลี้ยงและมีบทบาทที่ใกล้ชิดกับชีวิตคนหลายล้านคน การวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับหมาได้ชี้ให้เห็นถึงการทดลองที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ อารมณ์สัตว์ที่คล้ายมนุษย์ เช่น การทดลองกับลิงชิมแปนซี








ที่มา http://www.sciencedaily.com/releases/2009/06/090611065839.htm
เว็บไซต์เผยแพร่ : http://www.vcharkarn.com/vnews/152393
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น: