ปิ๊ง! จากความเชื่อ นายจอห์น ลาร์สัน (John Larson) เป็นบุคคลที่มีความเชื่อเรื่องปฏิกิริยาผันแปร ของร่างกายมนุษย์ เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้น หนึ่งในสิ่งผิดปกติของเขาก็คือ? การโกหก? บุคคลผู้โกหกย่อมมีความดันโลหิตที่เปลี่ยนไป จังหวะการเต้นและลมหายใจกระชั้นขึ้นในขณะตอบคำถาม ดังนั้น เขาจึงทำการคิดประดิษฐ์ ?เครื่องจับเท็จ? (polygraph lie detector) ขึ้นมา จนสำเร็จเป็นเครื่องแรกในปี ค.ศ. 1921
ต่อมานายลิโอนาร์ด คีเลอร์ (Leonard Keeler) นักอาชญวิทยานำ เครื่องประดิษฐ์อันแรกมาปัดฝุ่น พัฒนาประสิทธิภาพให้มีมากขึ้น แล้วจดทะเบียนสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1931 จากนั้นก็ผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่าย และมีการนำไปใช้ในวงการตำรวจ เพื่อตรวจสอบคำให้การอย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาลไม่ยอมรับให้เป็นหลักฐานประกอบการไต่สอน จึงนับเป็น สิ่งประดิษฐ์ที่เป็น? ศิลปะ? อย่างหนึ่งเท่านั้น
ศาลได้มีความเห็นต่อเครื่องจับเท็จไว้ว่า
แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๕/๒๕๐๒ วินิจฉัยว่า เครื่องจับเท็จยังไม่แน่นอนเด็ดขาดที่ศาลยุติธรรมจะฟังเป็นที่ยุติได้ ดังนั้นความเห็นของผู้ที่มาเบิกความด้วยเครื่องจับเท็จ จึงยังมีข้อโต้แย้ง ไม่อาจถือว่าเป็นผู้ชำนาญการพิเศษที่จะรับฟังเป็นพยานได้
(พรีเซนเตชั่นฉบับเต็ม http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:7e3KnJW61B8J:www.dmsc.moph.go.th/webroot/trang/WEB%2520KM/km_2.ppt+%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%88+%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A&cd=5&hl=th&ct=clnk&gl=th )
ความเห็นจาก DSI
สำหรับเครื่องจับเท็จแบบไม่สัมผัสนั้นดีเอสไอได้ใช้งานมากว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าได้ผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสืบสวน อาทิ คดีก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากความเชื่อของศาสนาอิสลามซึ่งถือเรื่องการพูดปด
ดังนั้น เครื่องจับเท็จจึงช่วยได้มาก ส่วนประเด็นเรื่องพยานหลักฐานจากเครื่องจับเท็จจะมีน้ำหนักให้ศาลรับฟังมากน้อยแค่ไหนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานดังกล่าวเพียงอย่างเดียว เพราะการไต่สวนของศาลยังมีพยานหลักฐานอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบกันด้วย แต่ยืนยันว่าเครื่องมือจับเท็จเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกอยู่แล้ว อ่านเต็มๆ http://atnnonline.com/Science-Technology-NEWS/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84-%E0%B8%A1.%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B9%8C.html
คมชัดลึก :จะมีเครื่องมืออะไรที่สามารถบอกถึง "ความในใจ" ที่ซ่อนอยู่ลึกในใจคนได้ดีไปกว่า "เครื่องจับเท็จ" ที่ช่วยภารกิจด้านสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง ของตำรวจกับผู้ร้ายที่แฝงไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ขณะเดียวกันก็ช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ของผู้ต้องสงสัยได้อีกด้วย
เนคเทคนำเทคโนโลยีไอทีเข้ามาช่วยในรูปแบบซอฟต์แวร์ช่วยสืบสวนสอบสวน โดยวิเคราะห์และประมวลผลจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น อุณหภูมิใบหน้า หลังจากใช้เวลาศึกษาและปรับแต่งโปรแกรมอยู่ 3 ปี ทีมวิจัยได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบชื่อ "เทด" (Thermal Analyzer for Deceptive Detection : TAD) ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังทดสอบประสิทธิภาพอยู่
“งานวิจัยดังกล่าวเกิดจากโจทย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่มองหาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ต้องหา ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ถ้าเราทำสำเร็จ ถือว่าเป็นครั้งแรกของโลก” ดร.ศรัณย์ กล่าว... อ่านเต็มๆ http://www.komchadluek.net/detail/20100117/44882/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87...%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2.html
ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม
คลื่นวิทย์-เทคโนฯ : ศาสตร์และศิลป์ของเครื่องจับเท็จ http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=725
มาจับเท็จเครื่องจับเท็จกันดีไหม? http://gotoknow.org/blog/thanyasak/182659
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น