"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เนื้อปลาทะเลทำไมไม่เค็ม? ทะเลมีเกลือ3.5% ปลากระดูกแข็งที่ครีบมีต่อมขับเกลือออกมา ส่วนปลากระดูกอ่อนเลือดมียูเรียข้นกว่าทะเลเกลือซึมเข้าไม่ได้

เนื้อปลาทะเล ทำไมไม่เค็ม??

ปลาทะเลที่เรานิยมรับประทานนั้น เป็นส่วนหนึ่งของปลาอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลอย่างนับไม่ถ้วน แล้วคุณรู้ไหมน้ำทะเลที่มีความเค็มและขมนั้น ประกอบด้วยเกลือถึง 3.5% อาจมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ในเมื่อทะเลประกอบด้วยเกลือจำนวนมากเช่นนี้ ปลาที่อาศัยกินอาหารต่างๆในทะเลนั้น ทำไมเนื้อกลับไม่เค็มเลยสักนิด

ในความเป็นจริง ปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ๆคือ ปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง ในครีบของปลากระดูกแข็งจะมีเซลล์พิเศษชนิดหนึ่ง เรียกว่าเซลล์ขับเกลือ เซลล์ชนิดนี้สามารถดูดเกลือในกระแสเลือด ผ่านน้ำเมือกข้นเหนียวพร้อมกับขับออกจากตัวปลา การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของเซลล์กลุ่มนี้ ทำให้สามารถรักษาความสมดุลย์ของเกลือในร่างกายให้พอดี



ส่วนในปลากระดูกอ่อนนั้น ก็จะมีวิธีการรักษาความสมดุลย์ของเกลือในร่างกายอีกแบบหนึ่ง ในกระแสเลือดของมันจะประกอบด้วยสารประกอบยูเรียที่มีความหนาแน่นมาก ทำให้กระแสเลือดมีระดับความหนาแน่นสูงกว่าน้ำทะเล จนเกลือไม่สามารถซึมผ่านเข้าร่างกายได้ เพราะเหตุนี้เนื้อของมันจึงไม่มีความเค็ม

 
 
การที่ทะเลมีรสเค็ม เนื่องจากการรวมตัวของน้ำละลายเกลือแร่ ที่ถูกพัดพามาจากพื้นทวีป และใต้ทะเล โดยความเค็มของทะเลจะมีความคงที่ สาเหตุที่ความเค็มของน้ำทะเลไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานั้น ก็เพราะในมหาสมุทรมีกระบวนการของธรรมชาติที่รักษาระดับความสมดุลของเกลือแร่ คือถ้าหากว่าธาตุชนิดใดมีในน้ำมากเกินกว่าปกติ ก็จะถูกกำจัดออกจากน้ำทะเล โดยการแยกตัวออกเป็นของแข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีธาตุใดละลายน้ำน้อยเกินปกติ เกลือแร่ของธาตุนั้นในรูปของแข็ง ก็จะถูกละลายกลับสู่น้ำทะเล ดังนั้น ความเค็มของน้ำทะเลจึงคงที่มาหลายล้านปีแล้ว


น้ำทะเลเค็มเพราะมีเกลือหลายชนิดละลายอยู่ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เกลือแกง ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ หรือ มีสูตรเคมีว่า NaCl น้ำทะเล โดยเฉลี่ยแล้วมีเกลือร้อยละ 3.5 หรือน้ำทะเล 1 ลิตรจะมีเกลือละลายอยู่ประมาณ 30 กรัม ยิ่งไปกว่านั้น ทะเลในแผ่นดินใหญ่หรือทะเลปิด ซึ่งไม่เชื่อมต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนหรือทะเลแดง เกลือละลายอยู่มากกว่าทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป

ส่วนทะเลที่มีความเค็มมากที่สุดได้แก่ ทะเลเดดซี(Dead Sea) ในประเทศอิสราเอล ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 340 ตารางไมล์ เท่านั้น โดยมีปริมาณเกลือมากถึง 10,523,000,000 ตัน ถ้าเราสามารถระเหยเอาน้ำทั้งหมดออกไปจากทุกทะเลและมหาสมุทรในโลกได้จนแหล่งน้ำเหล่านี้แห้งลงจะพบว่า เกลือที่เหลืออยู่จะมีปริมาณมากมายมหาศาลจนเหลือเชื่อ ถ้านำเกลือเหล่านี้ทั้งหมดมารวมเป็นกอง จะได้กำแพงที่สูง 180 ไมล์ และหนา 1 ไมล์ หรือมวลของเกลือทั้งหมดมีขนาดประมาณ 15 เท่าของมวลทั้งหมดของพื้นที่ทวีปยุโรป (อ่านเต็มๆ http://school.rvs.ac.th/  )


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ที่มา :  รอบรู้เรื่องสัตว์ ชุด ปลาทะเล, หนังสือ ISBN : 974-99190-8-4
ข้อมูลเพิ่มเติม : เผยน้ำจืดมากเกินทำ ปลาบางแสนตาย http://www.dektube.com/action/viewarticle/3407/_______________________________/?vpkey=6eb53843ae&album_id=
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น: