"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

@lekasina เรื่องเรี่ยไรครับพี่ โทษทีช้าไปนิด "การเรี่ยไรใช้ พรบ.ปี 2484 พ้องการทำบุญ โดนหลอกแล้วถึงแจ้งความได้" http://bit.ly/caN8DX #FM99

บันทึกเรื่องการเรี่ยไร
(จากทวิต @lekasina ปรารภเรื่องการเรี่ยไร สนใจร่วมประเด็นด้วย)

กรณีตัวอย่าง
ใครเคยโดน ...แก๊งเรี่ยไรเงิน แถวป้ายรถเมล์-หน้าแบงค์
(คุยกับลุงแจ่ม) http://www.oknation.net/blog/loongjame/2007/04/02/entry-2


ในขณะที่คู่มือประชาชนกำหนดกรอบการเรี่ยไรไว้กว้างๆว่า
การเรี่ยไร
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนูญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค 
http://www.thaifactory.com/Promote/PeopleHandbook.htm

ในภาครัฐมีกรอบกำหนดการเรี่ยไรไว้ชัดเจนกว่าภาคประชาชน
ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2544
http://cpm.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=148&Itemid=127 

คู่มือประชาชนได้กำหนดกรอบการเรี่ยไรไว้กว้างๆ เพราะเป็นไปตาม
พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นภาพกว้างและเป็นธรรมเนียมนิยมของการเรี่ยไรอยู่แล้ว http://bit.ly/9UNSu9


"การเรี่ยไร" จึงพ้องกับ "การทำบุญ" โดยไม่ตั้งใจ


ดังนั้นการเรี่ยไรที่ไม่ขัดต่อ พรบ. ในเชิงปฏิบัติมีอยู่ข้อเดียวข้างต้น คือ
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนูญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค
แต่ผู้ออกใบอนุญาตนั้น ต้องมีการลงนามในใบข้ออนุญาต ดังตัวอย่าง





และต้องออกใบรับเงินให้กับผู้บริจาคเงินโดยองค์กร หรือมูลนิธิ ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปลัดอำเภอจะลงนามและระบุเป็นการเฉพาะกิจ ตามวันและเวลาที่กำหนดเท่านั้น


ในทางปฏิบัติ นอกจากการขอดูหนังสือขออนุญาตแล้วนั้น จะเข้าข่ายผิดกฏหมาย เมื่อ
1.กระทำการให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญฯ
2.แต่งตัวเลียนแบบให้บุคคลอื่นเชื่อถือเพื่อผลประโยชน์อย่างอื่นฯ
3.เรี่ยไรโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าพนักงานฯ
4.ติดตั้งไฟสํญญานวับวาบโดยไม่ได้รับอนุญาติฯ
5.กระทำการอันเป็นภัยต่อสังคมฯ

การแจ้งจับต้องมีเจ้าทุกข์ ซึ่งต้องเกิดหลังจากถูกหลอกลวงไปแล้วเท่านั้น
หากเห็นผ่านตา ไม่ได้ถูกหลอกลวง ไม่เป็นเจ้าทุกข์ 
แล้วใครล่ะจะเป็นเจ้าทุกข์..?


ที่มา : สำนักทนายความ (สงวนชื่อ) รามอินทรา
สน.รามอินทรา ขอบคุณ ตำรวจ  พ.ต.อ. ผู้ให้ข้อมูล
และพี่กูเกิล


ไม่มีความคิดเห็น: