"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

"เมื่อมีเงินน้อยลง เราจำเป็นต้องใช้สติปัญญามากขึ้น" คนไทยใช้เงินบาท เท่ากับได้เข้าเฝ้าฯในหลวงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน (สมเด็จพระเทพฯ) #FM99

ธรรมะจากข่าว : คิดถึงในหลวงก่อนใช้เงิน 


"ใช้เงินด้วยปัญญา คือการบูชาในหลวง" คือถ้อยคำที่ขอนำมาฝากเป็นคติสอนใจคนไทยทั่วประเทศ ด้วยว่าเงินเหรียญ และเงินธนบัตรที่เราจับจ่ายซื้อของมีรูปในหลวงอยู่ในเงินนั้น กระทั่งบางท่านพูดติดตลกว่า ถ้าจะทำอะไรให้สำเร็จ ก็ต้องใช้บารมีในหลวง แปลว่าต้องใช้เงินนั่นเอง คนจำนวนมากขาดความตระหนักที่จะสร้างสำนึกแห่งความพอเพียง เมื่อมีเงินอยู่ในมือก็มักจะเกิดกิเลสกำเริบเสิบสาน ฟุ้งซ่าน สับสน ดิ้นรนที่จะใช้เงินไปตอบสนองความอยากและความพอใจ (มิใช่ใจพอ) แห่งตน อะไรๆ ก็จำเป็นไปหมด เมื่อใช้เงินไปซื้อหามาแล้วก็ยังไม่ถึงจุดหยุดทะยานอยาก ต้องใช้เงินไปซื้อหาสิ่งอื่นๆ และอื่นๆ มาตอบสนองความอยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นว่าถูก "เงินใช้มากกว่าใช้เงิน" ปัญญา มักไม่ค่อยตามมาพร้อมกับจำนวนเงิน การมีเงินและใช้เงินให้น้อยลงต่างหากเล่าย่อมเป็นเหตุแห่งปัญญา

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตรัสคำคมไว้ว่า "เมื่อมีเงินน้อยลง เราจำเป็นต้องใช้สติปัญญามากขึ้น" คนไทยที่ใช้เงินบาทเป็นเงินสกุลหลัก เท่ากับได้เข้าเฝ้าฯในหลวงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน สมควรที่จะใช้สติตื่นเต็มและปัญญาแยบยลในทุกครั้งที่จะใช้เงิน ขณะใช้เงิน และใช้เงินแล้ว มีการตั้งคำถามให้กับตนเองทุกครั้งที่ต้องใช้เงิน ทั้งนี้ไม่แนะนำให้เป็น "สิงห์ปืนฝืด" หรือเป็นคนตระหนี่ แต่จะต้องมีความตระหนัก เพื่อให้การใช้เงินทุกครั้งเป็นการใช้ที่คุ้มค่า เกิดประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านอย่างถูกแท้

"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางรอด มิใช่แค่ทางเลือก" เพราะเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะพาเราหลุดพ้นออกไปจากถ้ำมืดทมิฬ ซึ่งเป็นคุกของสังคม กักขังประชาชนไปสู่การเป็นหนี้ในระบบสังคมบริโภคนิยมแบบปัจเจกชน "ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง" นี่คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า "ความสันโดษ" หมายถึงสภาพจิตที่ลดกิเลสโลภะ จนเข้าถึงภาวะ "แม้น้อยก็พอ"



ที่มา : พ็อกเก็ตบุ้ค "ธรรมนำสมัย"
เว็บไซต์ : พลังจิต

ไม่มีความคิดเห็น: