"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

อนาคตเยาวชนไทยเก่งแต่ไร้วินัย จริงหรือ ?? ตอนที่ 2

จากตอนที่ 1 ต่อประเด็น
นิยามอายุเยาวชนไม่พ้องกันตามความหมาย และ การวางแผนพัฒนาเช่นนี้มีผลหรือไม่??
ข้อมูลเสริม จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายประเด็นเพื่อต่อยอดวิเคราะห์ประเด็นต่อไป


ประเด็นที่ 2 เยาวชนไทยอยู่ในระบบวินัยมากกว่าวัยทำงาน

ขออนุญาตนิยามเยาวชน คือ ประชากรผู้มีอายุระหว่าง 14 - 25 ปี ในบทความนี้ โดยอ้างอิงจำนวนเชิงสถิติที่ 11.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของประชากรทั้งหมด (63 ล้านคน : ธ.ค. 2552)


ปัญหาของเยาวชนไทย

สาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการ เขาได้ค้นพบว่า สังคมไทยในอนาคตมีแนวโน้มที่อาจนำไปสู่สังคมล่มสลายเนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชนไทยขั้นที่ต้องเร่งแก้ไข และกระทบกับเด็กจำนวนมาก โดยเขาจำแนกปัญหาเด็กและเยาวชนไทยเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ปัญหาที่เกิดมาจากความยากจนและด้อยโอกาสทั้งที่มีมาแต่กำเนิด หรือผลสืบเนื่องมาจากครอบครัว หรือถูกกระทำจากบุคคลหรือสังคม
2. ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น เรื่องเพศสัมพันธ์ ติดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ทะเลาะวิวาท ฆ่าตัวตาย เล่นการพนัน เที่ยวเตร่สถานบันเทิง ติดเกม อินเตอร์เน็ต เข้าถึงสื่อลามกอนาจารหรือสื่อที่แสดงความรุนแรงและขับรถเร็ว 

ซึ่งถ้าเรามาวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ แล้ว เราจะพบว่าในสังคมปัจจุบันสิ่งแวดล้อมต่อตัวเด็กและเยาวชน นั้น ได้กลืนเขาเข้าสู่สังคมยุคปัจจุบัน ยุคแห่งการแข่งขัน โดยที่เด็กและเยาวชนบางรายไม่สามารถแยกได้ว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด แก้ปัญหาเบื้องต้นไม่ได้ เหงา เศร้า บางรายมีชีวิตอยู่เพียงผู้เดียว ไม่รู้จะปรึกษาใคร ทำให้เขาต้องกระทำในสิ่งที่ตนเองอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
ปัญหาข้างต้น หากนำจำนวนตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติมาสมอ้างแล้ว
เป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับวัยทำงาน หรือวัยอื่นๆ ซึ่งครอบคลุม เพียงแต่การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนกลับให้ความสำคัญกับความผิดของเยาวชน มากกว่า การตระหนักถึงสิ่งเร้าที่ทำให้เยาวชน 17.9 ล้านคนนี้ กระทำความผิด หรือ การกลับไปนำเสนอต้นตอของปัญหาที่เยาวชนได้รับอิทธิพลมา

สิ่งที่ทำให้เยาวชนสามารถอยู่ในกรอบระเบียบวินัยได้มากกว่าวัยอื่น
1) อยู่ในระบบของโรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งมีระเบียบและกฏการใช้ชีวิตที่ชัดเจนกว่า
2) อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้ปกครอง บิดา มารดา และ ในการดูแลในระบบ
3) เยาวชนผู้กระทำผิด มีการคุ้มครองตามกฏหมาย นำไปอยู่ในระบบที่การใช้กฏระเบียบอย่างเข้มแข็ง
4) การขัดเกลาระเบียบวินัยของเยาวชน ทางอ้อม อาทิ การเรียน ร.ด. , กิจกรรมสังคมเสริม ฯลฯ
5) บทบาทการลงโทษ ของเยาวชนมีหลายระดับ ตัวอย่างเช่น หักคะแนนในโรงเรียน ภาคทัณฑ์ ซึ่งนอกเหนือการลงโทษจากกฏหมาย กลายเป็นว่า เยาวชนอยู่ในกรอบของสังคมได้สูงกว่า ด้วยกฏ-ระเบียบ นำพาไปสู่ความมีวินัยอย่างรอบด้าน
6) การส่งเสริมเยาวชนจากทางรัฐ และ เอกชน ส่งผลให้เยาวชนตระหนักถึงวินัยมากขึ้น อาทิ เงื่อนไขการขอทุน เงื่อนไขการเข้าทำงานในหน่วยงานรัฐ/เอกชน ฯลฯ

บทความเสริม (เนื้อข่าว กิจกรรม การส่งเสริมจริยธรรม วินัยของเยาวชน)
เด็ก เยาวชน เหยื่อแห่งการพัฒนา?
เยาวชน คือพลังสำคัญของชุมชน
เทคนิคบ้านค่ายฝึกวินัยเยาวชนเติมคุณธรรมเพิ่มความแกร่งให้ชีวิต
ฝึกอบรมทักษะชีวิตระเบียบวินัยเยาวชนสถานพินิจฯนครราชสีมา
โชว์สุดยอดไอเดียจากผลงานเยาวชนไทย
มหกรรมแสดงผลงานเยาวชน


เยาวชนมีการแสดงผลงาน และกิจกรรม มากกว่า 30,000 รายการต่อปี ใช้เวลาต่อสิ่งดังกล่าวมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด  เยาวชนที่มีปัญหาคือเยาวชนที่อยู่ในสิ่งเร้าที่ชวนให้ทำผิด และการขาดการเอาใจใส่ในภาพรวม ในขั้นต้น ชี้วัดได้จาก การดำเนินคดีต่อเยาวชนเมื่อเทียบกับวัยอื่นๆ

ข้อมูลเสริมสถิติเยาวชนกระทำผิดในศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วประเทศ
ที่มาสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม


การแสดงค่านิยมทางวัตถุของวัยทำงาน (หรือผู้ใหญ่) หรือไม่ ที่สร้างสิ่งเร้าการกระทำความผิดของเยาวชน ในขณะที่แสดงความชื่นชมในวัตถุนิยมของตน  ละเลยการทำประโยชน์เพื่อสังคม ว่าร้ายการกระทำผิดของเยาวชนโดยไม่แสดงข้อแก้ไขและปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี  นอกจากนี้  การว่ากล่าวตักเตือนเยาวชน สังคม ผลักภาระให้โรงเรียนและครอบครัวมากเกินไป ในขณะที่วัยทำงาน สร้างสังคมที่ตีกรอบคบหาและให้เวลากับวัยเดียวกันมากกว่า


หากนับความผิดในกรณีต่างๆ แล้ว วัยทำงานมากกว่าเยาวชนมากมาย
การตีความว่าเยาวชนไทยเก่งแต่ไร้วินัย เป็นการมองในมุมที่ตัดสินจากประเด็นใด??



ประเด็นที่ 3 เยาวชนไม่ได้ต้องการวัตถุ หากต้องการเวลาที่อบอุ่นและโอกาส


เสนอประเด็นนี้ด้วยเนื้อข่าวเพื่ออ้างความสอดคล้องกับหัวเรื่องข้างต้น




สิ่งที่จะถามกลับต่อวัยอื่นๆ (ที่ไม่ไช่เยาวชน) ว่า
คุณได้แสดงความมีวินัยต่อเยาวชนให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ทั้งที่สังคมสอนให้เด็กเชื่อผู้ใหญ่
คุณได้แสดงอัตตาและทาสวัตถุนิยมให้เยาวชนได้เป็นเยี่ยงอย่างหรือไม่
คุณได้ส่งเสริมสังคมและสภาพแวดล้อมใดๆ ให้เยาวชนได้รู้สึกได้รับความอบอุ่นหรือไม่
คุณได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือเพื่อคนอื่น เท่ากับเยาวชนหรือไม่


หรือเราต้องใช้ GDP ความสุขต่อเยาวชน มากกว่า GDP ทางเศรษฐกิจ


....

ไม่มีความคิดเห็น: