"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

อนาคตเยาวชนไทยเก่งแต่ไร้วินัย จริงหรือ ?? ตอนที่ 1

เยาวชนไทย (ราชบัณฑิตยสถาน)  คือ บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส

เยาวชนสากล (สหประชาชาติ) คือ คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี

ความมุ่งหวังต่อเยาวชนไทย
เยาวชน เป็นกลุ่มคนที่มีพลังอันสำคัญที่สามารถช่วยกันเสริมสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต เยาวชนควรตระหนักในคุณค่าของตนเองที่ร่วมแรงร่วมใจ สามัคคี และเสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีคุณธรรม จริยธรรม และสติปัญญาอันชาญฉลาด ในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่สังคม และนำพาประเทศชาติสู่ความเจริญรุ่งเรือง




ถ้าพิจารณาเฉพาคำ "เยาวชนไทย" นั้น จะจำกัดถึง ระดับ "มัธยมปลาย" เท่านั้น แต่หากเป็นเยาวชนสากล จะนิยามไปถึง นักเรียนมัธยม นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย ขยายไปแต่วัยพ้นรั้วมหาวิทยาลัยอีก 2 ปี (เฉลี่ยจบมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ที่อายุ 22-23 ปี)


ประเด็นที่ 1 ประเทศไทยนิยาม อายุเยาวชนไว้ที่เท่าไร
ตามบัณฑิตยราชสถาน หรือ ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลับระบุอายุเยาวชนไว้ที่ 15-24 ปี ผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ถือเป็นวัยทำงาน (อ้างอิง ดูหน้า 3 ย่อหน้าสุดท้าย)

เป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติ
         1. เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุ 15 - 25 ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ
         2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านคุณภาพคุณธรรม
         3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล
( อ้างอิง1  )


ในขณะที่ทางกฏหมายให้นิยามอายุเยาวชนไว้ว่า
ความหมายของ "เด็ก" และ "เยาวชน"

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า พ.ร.บ. เยาวชนฯ) ให้นิยามของคำว่า "เด็ก" และ "เยาวชน" ไว้ในมาตรา ๔ ดังนี้

"เด็ก" หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ "เยาวชน" หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

( อ้างอิง )

ในที่นี้ขอนำตัวเลขจำนวนประชาชน ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2552 
มาคานข้อมูลกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไว้ดังนี้ ( อ้างอิง )
อายุ 15 - 19 ปี จำนวน  4,801,846 คน
อายุ 20 - 24 ปี จำนวน  4,573,557 คน
อายุ 25 - 29 ปี จำนวน  5,063,368 คน

หากต้องการพิกัดตัวเลขตามนิยามข้างต้นรายอายุสามารถคำนวณได้ว่า
ประชากรที่มีอายุระหว่าง 14 - 25 ปี มีจำนวน 11.3 ล้านคนเศษ (อ้างอิงเสริม ตาราง XLS )

นิยามอายุเยาวชนไม่พ้องกันตามความหมาย และ การวางแผนพัฒนาเช่นนี้มีผลหรือไม่??


ข้อมูลเสริม จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายประเด็นเพื่อต่อยอดวิเคราะห์ประเด็นต่อไป

(เกรงรอนาน...ขอตัดตอน ประเด็นต่อไปเป็นตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น: