"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องกระพริบตา?? เป็นวิธีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตาตามธรรมชาติ ให้ผิวตาชุ่มชื้นได้ตลอดเวลา ไม่แห้งและแสบตา ฝืนพริบตา12วิ จะแสบตา // จามทำไมต้องกระพริบตา?? ความดันเวลาจามจะสูงมาก(160กม/ชม) ถ้าไม่กระพริบตาลูกตาเสียได้ จามที่ถูกคือยกแขนขึ้นมาจับไหลฝั่งตรงกันข้าม แล้วยกศอกปิด

ทำไมคนเราต้องกระพริบตา


ศ. นพ. เสนอ อินทรสุขศรี ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการกะพริบตาเป็นวิธีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตา ซึ่งเป็นการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย เวลากะพริบตาน้ำตาจะได้เคลือบและแผ่ไปได้ทั่วผิวลูกตา ทำให้ผิวตาชุ่มชื้นได้ตลอดเวลา ตาจะได้ไม่แห้งและไม่แสบตา เราจึงต้องกะพริบตาอยู่ตลอดเวลา



โดยเฉลี่ยคนเรากะพริบตาทุก ๆ ๒-๓ วินาที เวลาที่ตั้งใจมองเพ่งสิ่งใด เช่น เวลาอ่านหนังสือ กว่าจะกะพริบตาครั้งหนึ่งก็ใช้เวลานานกว่าปรกติ ตามสถิติมีผู้สังเกตว่า เวลาอ่านหนังสือ ผู้หญิงจะใช้เวลา ๕ วินาที จึงจะกะพริบตาครั้งหนึ่ง ส่วนผู้ชายใช้เวลา ๑๐-๑๒ วินาที จึงจะกะพริบตาครั้งหนึ่ง ความแตกต่างกันนี้ไม่อาจอธิบายได้ ผู้ทำสถิติตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ชายอาจทนเพ่งอ่านหนังสือได้นานกว่าผู้หญิง


อย่างไรก็ตาม คนเราจะต้องกะพริบตาตลอดเวลาเสมอถ้าจะฝืนไม่กะพริบตาเลย เพียงนาน ๑๐-๑๒ วินาทีก็จะแสบตาเนื่องจากน้ำตาระเหยแห้งไป และด้านหน้าลูกตาแห้งหรือชุ่มชื้นไม่ทั่วกัน


มีบางคนกะพริบตาถี่ ๆ เมื่อเกิดอารมณ์ผิดปรกติบางอย่างเช่น หวาดระแวง ละอาย ขวยเขิน มีความผิดอยู่ในใจ ตื่นเต้น โกรธ ฯลฯ บางคนกะพริบตาถี่ ๆ จนเป็นนิสัยก็มี



ทำไมเวลาจามต้องกระพริบตา??
ที่จามแล้วต้องกระพริบตาเนื่ยเพราะจะทำให้ความดันเวลาจามจะสูงมากถ้าไม่กระพริบตาลูกตาอาจจะเสียหายได้ หรืออาจจะหลุดออกมาเลยก็ได้

ในสหรัฐอเมริกา มีการค้นพบวิธีการจามที่ถูกต้อง หรือวิธีการที่ทำให้คนรอบตัวติดหวัดน้อยที่สุด แถมไม่ต้องเปลืองค่าใช้จ่ายซื้อยารักษาตัวอีกต่างหาก ปี พ.ศ. 2538 หลังจากที่มีการค้นพบ กระทรวงสาธรณสุขของเขา ก็เผยแพร่ และฝึกฝนคนของเขาตั้งแต่เป็นเด็กๆ จนอเมริกันชนยุคปัจจุบันส่วนใหญ่กลายเป็นคนที่ “จามเป็น”




วิธีการคือ
ก่อนจามให้ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาจับไหล่ของตัวเองฝั่งตรงกันข้าม (ถ้าแขนขวาก็จับไหล่ซ้าย ถ้าแขนซ้ายก็จับไหล่ขวา) เมื่อจับไหล่ตัวเองแล้ว ให้ยกมุมข้อศอกปิดปากและจมูกตัวเองแล้วค่อยจาม

ส่วนการกลั้นจาม
คุณรู้ไหมว่าอัตราความเร็วในการจามแต่ละครั้งนั้นสูงถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทีเดียว ดังนั้น การยื้อหรือกลั้นไม่ให้จามนั้นจะก่อให้เกิดแรงอัดอากาศภายใน อาจส่งผลทำให้เยื่อแก้วหูแตกหรือเป็นรูได้

รู้อย่างนี้แล้ว ไม่ควรกลั้นจาม หรือถ้าจะจามครั้งต่อไป ก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้




ที่มา : หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี
เรื่องน่ารู้ของการ “จาม” http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=26020
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น: