เครื่องถ่ายเอกสารฉายแสงทำไม??
ปี พ.ศ. 2478 นักฟิสิกส์ชื่อเชสเตอร์ เอฟ.คาร์ลสัน ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการทำสำเนาอย่างง่าย ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมงามในสำนักงานไปมาก คาร์ลสันเริ่มต้นจากการคิดค้นทำแบบพิมพ์สีเขียวและเอกสารอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ค้นพบวิธีทำสำเนาอย่างหยาบโดยใช้ประจุไฟฟ้า (คล้ายกับไฟฟ้าสถิต) กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า Xerography ซึ่งมาจากภาษากรีกสองคำ คือ Xerox และ graphics ซึ่งแปลว่า แห้ง และ พิมพ์ ตามลำดับ ดังนั้น Xerography จึงหมายถึงการพิมพ์แห้ง
การบวนการถ่ายเอกสาร อ่านต่อ http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/Zerox/Zerox1.htm
กลไกการทำงาน
เมื่อม้วนกระดาษคลายกระดาษออกได้ยาวเหมาะสมแล้ว ชุดมีดจะตัดกระดาษออกเป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ ลูกกลิ้งจะพาแผ่นกระดาษผ่านเข้าสนามไฟฟ้าของเครื่องประจุไฟ ประจุไฟฟ้าบวกจะเกิดขึ้นที่ด้านหลังของกระดาษ และประจุไฟฟ้าลบจะเกิดขึ้นที่ด้านหน้าของกระดาษซึ่งเป็นด้านที่เคลือบสาร
แผ่นกระจกพร้อมเอกสารต้นฉบับจะเลื่อนผ่านช่องหน้าต่างไปอย่างช้า ๆ และได้รับแสงสว่างความเข้มสูงจากหลอดไฟควอรตซ์-ไอโอดีน ลำแสงจะสะท้อนจากเอกสารต้นฉบับไปยังกระจกเงาสะท้อนแสง และสะท้อนผ่านเลนส์รวมแสงไปยังกระดาษเคลือบสาร ในขณะที่แผ่นกระจกเลื่อนไปอย่างช้า ๆ นั้น กระดาษเคลือบสารก็จะเลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่นกัน ทำให้แสงสะท้อนจากเอกสารต้นฉบับไปตกที่กระดาษเคลือบสารด้วยเวลาที่สัมพันธ์กัน ลำแสงที่กระทบกับกระดาษเคลือบสารจะทำให้ประจุไฟฟ้าลบบนกระดาษ ยกเว้นบริเวณสีดำของเอกสารต้นฉบับ เป็นกลาง ประจุไฟฟ้าลบที่ยังเหลืออยู่บนกระดาษเคลือบสารจะมีลักษณะเหมือนกับบริเวณสีดำของเอกสารต้นฉบับ แต่ยังมองไม่เห็น
เมื่อแผ่นกระดาษเคลือบสารที่สัมผัสแสงแล้วผ่านลงไปในสารละลายที่มีอนุภาคของหมึกแขวนลอยอยู่ อนุภาคของหมึกซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวกจะเข้าจับบริเวณประจุไฟฟ้าลบบนแผ่นกระดาษ หลังจากนั้นกระดาษจะเลื่อนขึ้นจากอ่างสารละลายเข้าสู่ลูกกลิ้งรีดแห้ง อนุภาคของหมึกจะติดแน่นบนแผ่นกระดาษ แผ่นกระดาษจะถูกเป่าด้วยลมร้อนเพื่อให้กระดาษแห้งก่อนออกจากเครื่อง
เครื่องถ่ายเอกสารระบบสอดสี http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/Zerox/Zerox4.htm
กระบวนการถ่ายเเอกสาร http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/Zerox/Zerox5.htm
ที่มา ฟิสิกส์ราชมงคล
โดย ธีระยุทธ สุวรรณประทีป พิชัย ลีละพัฒนะ พงษ์ธร จรัญญากรณ์ และนพดล เวชสวัสดิ์
ข้อมูลเพิ่มเติม
อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร โดย นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา และคนอื่นๆ
จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22
http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1493&title=%CD%D1%B9%B5%C3%D2%C2%A8%D2%A1%E0%A4%C3%D7%E8%CD%A7%B6%E8%D2%C2%E0%CD%A1%CA%D2%C3
วิกิฯ เครื่องถ่ายเอกสาร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3
ความเป็นมาของเครื่องถ่ายเอกสารจากรีดเดอร์ไดเจสต์
http://lib.edu.chula.ac.th/cuappl/libedu2007/lib_tech/aspboard_Question.asp?GID=28
"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--
ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น