นกทะเลและสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดจะมีต่อมพิเศษสำหรับถ่ายเกลือออกจากร่างกายโดยเฉพาะนกนางนวลสามารถดื่มน้ำทะเลได้ถึง 10% ของน้ำหนักตัว และสามารถกำจัดเกลือที่มีมากเกินไปได้ภายในเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้ามนุษย์จำเป็นต้องดื่มน้ำทะเลในสัดส่วนเท่านกคือ 2 แกลลอน ( 7.56 ลิตร ) น้ำจะถูกดูดออกจากร่างกายเนื่องจากความพยายามที่จะกำจัดเกลือที่มีมากเกินไปออกจากร่างกายไม่มีสัตว์ชนิดใดมีเกลือสะสมอยู่ในร่างกายได้เกินร้อยละ 0.9 เกลือที่มีมากเกินกว่าปริมาณนี้ จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ไตของมนุษย์ไม่สามารถกำจัดเกลือที่มีอยู่ในปัสสาวะได้เกินกว่าร้อยละ 2.2 ดังนั้น มนุษย์จึงไม่สามารถดื่มน้ำทะเลซึ่งมีเกลือผสมอยู่ถึงร้อยละ 3.5 ได้ ม้าสามารถกำจัดเกลือที่มีอยู่ในปัสสาวะได้เพียงร้อยละ 1.5 เนื่องจากไตไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ม้าจึงไม่สามารถดื่มน้ำกร่อยซึ่งมนุษย์สามารถบริโภคได้
และน้ำเกลือโรงพยาบาลทำไมกินได้??
เพราะน้ำเกลือที่ใช้ในโรงพยาบาลมีความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 0.9 เองครับ
(น้ำเกลือแบบธรรมดาทั่วไป)
น้ำเกลือ / Saline
ชนิดของน้ำเกลือ ที่ใช้บ่อยได้แก่
1. นอร์มัลซาไลน์ (Normal saline solution/NSS) หมายถึง น้ำเกลือเกลือธรรมดาที่มีความเข็มข้น 0.9% ซึ่งเท่ากับกับความเข้มข้นของเกลือในกระแสเลือดของคนปกติ มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
2. 5% เดกซ์โทรส ( 5% Dextrose in water หรือ 5%D/W) หมายถึงน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้นข้น 5% ไม่มีเกลือแร่ผสม มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
3. 5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5% ผสมกับน้ำเกลือธรรมดา
4. 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5 % ผสมกับน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% (เข้มข้นเพียง 1/3 ของน้ำเกลือธรรมดา) มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
ผลข้างเคียง
1. ถ้าเครื่องใช้และน้ำยาไม่สะอาด หรือเทคนิคการให้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้
2. ถ้ามีฟองอากาศ เพราะไล่อากาศจากสายน้ำเกลือไม่หมด ฟองอากาศจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และเข้าสู่หัวใจ อาจเป็นอันตรายได้
3. มีอาการไข้และหนาวสั่น จากการแพ้น้ำเกลือ
4. ถ้าใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าความเข้มข้นของเกลือในเลือด อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก
5. ถ้าให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้บวม มีน้ำคั่งในปอด หรือหัวใจวายถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตอยู่ก่อน
ที่มา : หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี
ข้อมูลเสริม : น้ำเกลือ http://phonlawat.freeforums.org/topic-t126.html
เว็บไซต์เผยแพร่ : http://bit.ly/attGTj (สนุกกูรู)
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น