"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--
ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ปี1888ฟรายด์ริช ไรนิตเซอร์ วิจัยไขมันพืช พบสารตัวหนึ่ง เย็นตัวเป็นสีขุ่น เย็นอีกใส เย็นถึงจุดสีน้ำเงิน จนเป็นผลึกเหลว เทคโนฯพาเขาไม่ไม่ถึง?? // จากผลึกเหลว จอร์จ ฮีลเมียร์ นำมาทำเป็นหน้าปัดนาฬิกา ปี1963 และ เจมส์ เฟอร์กาสัน นำมาผลิตเป็นจอ LCD ใช้หลักเบี่ยงเบนแสงจ่อเข้าหาผลึก ในปี1969
ในปี ค.ศ. 1888 นายฟรายด์ริช ไรนิตเซอร์ (Friedrich Reinitzer) เป็นนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรีย ขณะที่เขาศึกษาสารไขมันจากพืช ชั่วข้ามคืนเท่านั้น เขาพบสารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายโคเลสเตอรอล อยู่ในสภาวะละลายเป็นของเหลวในภาวะที่มีความร้อน พอเย็นตัวลงก็กลายเป็นสารสีขุ่น และเมื่อเย็นลงอีกก็กลายเป็นสีใส พอเย็นตัวถึงจุดหนึ่ง กลับเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินและตกผลึก ซึ่งเป็นผลึกเหลว นำมาใช้สร้างจอแอลซีดีหน้าปัดนาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอล หน้าจอเครื่องคิดเลขหน้าจอเครื่องแฟกซ์ จอคอมพิวเตอร์ จอทีวีที่ติดตั้งในรถยนตร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และแม้แต่จอทีวีขนาดใหญ่
ตัวจอเหล่านี้มีคุณสมบัติในการทำงานที่อาศัยการเบี่ยงเบนของแสง สามารถปรับหรือขยับให้แสงเข้าหน้าปัดจอได้มากน้อยตามต้องการ
ผู้ที่นำการค้นพบผลึกเหลวมาพัฒนาขยายผลก็คือนายจอร์จ ฮีลเมียร์ (George Heilmeier) ในปี ค.ศ. 1963 เริ่มใช้กับหน้าปัดนาฬิกาเป็นครั้งแรกต่อมาในปี ค.ศ. 1969 นายเจมส์ เฟอร์กาสัน (James Fergason) ได้นำหน้าปัดแอลซีดีมาพัฒนาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และขยายผลในการใช้สู่จอต่างๆใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในทุกวันนี้
ที่มา: หนังสือ MK พาปิ๊ง! ไอเดียซิ่ง...ในสิ่งที่ไม่ธรรมดา
เด็กดีดอทคอม, ศูนย์ความรู้ นมข.
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น