"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

The Butterfly Effect in the Lorenz attractor time "แม้ผีเสื้อกระพือปีก ก็อาจเกิดพายุกระหน่ำ ถึงครึ่งโลก" คำนิยาม ในทฤษฎีความโกลาหล (CHAOS THEORY) ...ต้นกำเนิดทฤษฏี "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"

ที่มาของบทความ : RT @Banktm: RT @slk5999 "@KILENKU: @ ผมชอบทฤษฎีเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวของพี่อ่ะ อธิบาย.."เท่ห์ชื่อนี้//อยากรู้ด้วยคน//วันนี้จัดให้ครับ:)

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง
The Butterfly Effect ,CHAOS และ DaVinci Code   (เต็มๆ ชัดๆ ได้จากยูทูป) 





บทนำเรื่อง

จากภาพยนต์เรื่อง The Butterfly Effect นำแสดงโดยแอชตัน คุชเชอร์ 



สำหรับบุคคลทั่วไป เป็นการสื่อความหมายว่า เรื่องเล็กๆ เช่นการที่ผีเสื้อกระพือปีกสามารถก่อให้เกิดเรื่องใหญ่ๆที่ไม่คาดคิดในระยะ ทางไกลๆได้ (เข้าทำนอง “เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว”)


แต่ในมุมมองของ CHAOS THEORY ได้อธิบายไว้ว่า ในด้านทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect (หนังสือที่ศาสตราจารย์เลอลอง เขียน ได้พูดถึงศาสตราจารย์เลอลองเคยได้รับเชิญ ให้นำเสนอ Lecture ทางวิชาการ 3 ชุด ที่ University of Washington (Seattle) ภายใต้การสนับสนุนของคหบดีที่อุดหนุนด้านการศึกษามนุษยชาติ (Jessy Dance) ในการนำเสนอ ศาสตราจารย์ซึ่งเป็นนักอุตุนิยมวิทยามา กว่า 30 ปี ได้เฝ้าวิจัยแนวความคิดด้านอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่าท่านค้นพบโดยบังเอิญ จากกระบวนการที่ท่านนั่งเฝ้าตัวเลขที่ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็น .0000001 ของทศนิยม ท่านนั่งเฝ้าเข็มรายงานความเคลื่อนไหวของอากาศ

ทุกๆ ครั้งที่เกิดการสั่นสะเทือนของระบบการรับข่าวสาร เกี่ยวกับสภาวะอากาศ และเฝ้าสังเกตดูจุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละจุด ๆ เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนไปแล้วจะทำให้เกิดรูปร่างที่เมือนกับโครงสร้างของ "ผีเสื้อ" ท่านพบว่า .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล

การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในภาวะแวดล้อมของอุตุนิยมวิทยาไม่ใช่เกิดขึ้นจาก สาเหตุใหญ่ ๆ หากแต่เกิดขึ้นจากสัญญาณเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ ท่านจึงอธิบายว่าถ้ามันเป็นเช่นนี้จริงก็หมายความว่า "แม้กระทั่งผีเสื้อตัวเล็ก ๆ กระพือปีกเบา ๆ อยู่ที่ซึกโลกหนึ่งก็ส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาของอีกซีกโลกหนึ่งก็อาจจะเป็นได้"
 

        
ภาพ Butterfly Effect ทำให้เกิดกระแสความแตกตื่นขึ้นในกลุ่ม IT และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์โลก ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้

แต่ความเป็นจริงมีสัญญาณเตือนภัยที่ส่อเค้ามาก่อนแล้ว เช่น หิมะละลาย แผ่นดินถล่ม แต่ก็ไม่มีคนสนใจ การเกิดโรคซาร์ในประเทศจีน ทำให้เกิดการล้มตายอย่างเฉียบพลัน การเกิดไข้หวัดนกที่อาจมีสัญญานบอกเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการก้าวข้ามสายพันธ์ของไวรัสที่อาจจะไม่ใช่เป็นไปตามลำดับขั้นตามทฤษฎี ที่เคยเป็น แต่อาจมีการข้าม กระโดด เปลี่ยนแปลงอย่างชนิดตามไม่ทันก็ได้ ซึ่งปรากฎการณ์แบบ Butterfly effect แค่หิมะจากแอนตาร์กติก ลอยออกมาเป็นก้อน ๆ ปลารูปร่างหน้าตาประหลาดมาเกยตื้นที่หากสมิหลา ก็สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อโลกมนุษย์แล้ว การก่อให้เกิดภาวะ Chaos หรือความซับซ้อนของตัวเองในสิ่งนั้น ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้



Source : 
Lorenz Butterfly : http://www.exploratorium.edu/complexity/java/lorenz.html 
Butterfly effect Wiki : http://en.wikipedia.org/wiki/Butterfly_effect  


อ่านเพิ่มได้ที่
ชัยวัฒน์ ถีระพันธ์. 2537. ทฤษฎีความไร้ระเบียบ ทางแพร่งของสังคมสยาม. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา.
ยุค ศรีอาริยะ. 2537. โลกาภิวัตน์ 2000 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ทางเวลาทางสังคมศาสตร์ ในโลกาภิวัตน์ 2000. กรุงเทพฯ : บริษัทไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. 2549.

ที่มา : http://www.info.tdri.or.th/reports/unpublished/chaos-theory.pdf








เข้าเรื่อง



นำบทความ "ทฤษฏีความโกลาหล"
อธิบายโดย อ.สมเกียรติ  ตั้งกิจวานิชย์  เป็นคำอธิบายที่ได้รับการยอมรับ และครอบคลุมในวงกว้างมากที่สุด
ดาวน์โหลด --> (PDF)
https://docs.google.com/fileview?id=0B1BzxljwDdffZGEzZmM5N2EtZWQ4YS00ZTRhLWIwNTItNjM3MDYzYmVmZTgx&hl=th





จุดเริ่มต้นของทฤษฎีเคออสนี้ สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) จากการศึกษาปัญหาวงโคจรของวัตถุสามชิ้นในสนามแรงดึงดูดระหว่างกัน ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ปัญหาสามวัตถุ (three-body problem) โดย อองรี ปวงกาเร ซึ่งได้ค้นพบว่า วงโคจรที่ศึกษานั้นอาจจะมีลักษณะที่ไม่ได้เป็นวงรอบ (periodic) คือไม่ได้มีทางวิ่งซ้ำเป็นวงรอบ ยิ่งไปกว่านั้น วงโคจรนั้นก็ไม่ได้ขยายวงออกไปเรื่อย ๆ หรือมีลักษณะที่ลู่เข้าหาจุดใด ๆ ต่อมาได้มีการศึกษาถึงปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์ไม่เป็นเชิงเส้นที่เกี่ยวข้อง โดยที่ เบอร์คอฟ (G.D. Birkhoff) นั้นศึกษาปัญหาสามวัตถุ คอลโมโกรอฟ ศึกษาปัญหาความปั่นป่วน (หรือ เทอร์บิวเลนซ์) และปัญหาเกี่ยวกับดาราศาสตร์. ส่วน คาร์ทไรท์ (M.L. Cartwright) และ ลิตเติลวูด (J.E. Littlewood) นั้นศึกษาปัญหาทางวิศวกรรมการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ. สเมล (en:Stephen Smale) นั้นอาจเป็นนักคณิตศาสตร์คนแรก ที่ทำการศึกษาถึงปัญหาทางด้านพลศาสตร์ของระบบไม่เป็นเชิงเส้น. ถึงแม้ว่าความอลวนของเส้นทางโคจรของดาว นั้นยังไม่ได้มีการทำการสังเกตบันทึกแต่อย่างใด แต่ก็ได้มีการสังเกตพบ พฤติกรรมความอลวนในความปั่นป่วนของการเคลื่อนที่ของของไหล และ ในการออสซิลเลท แบบไม่เป็นวงรอบของวงจรวิทยุ ซึ่งไม่มีทฤษฎีใดในขณะนั้นสามารถอธิบายพฤติกรรมเหล่านี้ได้
ความตื่นตัวในการพัฒนาทฤษฎีความอลวนนี้ เกิดขึ้นในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่า ทฤษฎีของระบบเชิงเส้นนั้นไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมบางอย่าง แม้กระทั่งพฤติกรรมของระบบที่ไม่ซับซ้อนอย่าง แมพลอจิสติก (Logistic map) อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้พัฒนาการของทฤษฎีความอลวนเป็นไปอย่างรวดเร็วก็คือ คอมพิวเตอร์ การคำนวณในทฤษฎีความอลวนนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นการคำนวณค่าแบบซ้ำ ๆ จากสูตรคณิตศาตร์ และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วนในการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกทฤษฎีความอลวน เขาได้สังเกตพฤติกรรมความอลวน ในขณะทำการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์ใช้คอมพิวเตอร์ซิมูเลชันแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มซิมูเลชันจากจุดเริ่มต้นใหม่ เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น ปรากฏว่าค่าที่คำนวณได้มีความแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ ของค่าที่พิมพ์ออกมา จากค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมาก แต่สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่า ไวต่อสภาวะเริ่มต้น

คำ "butterfly effect" ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีความอลวน นั้นมีที่มาไม่ชัดเจน เริ่มปรากฏแพร่หลายหลังจากการบรรยายของ ลอเรนซ์ ในปี ค.ศ. 1972 ภายใต้ชื่อหัวข้อ "Does the Flap of a Butterfly's Wings in Brazil Set Off a Tornado in Texas?" นอกจากนี้แล้วยังอาจมีส่วนมาจาก รูปแนวโคจรของตัวดึงดูดลอเรนซ์[1] (ดังรูปด้านขวามือ) ที่มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ซึ่งเขาได้ตีพิมพ์ในบทความวิชาการก่อนหน้านี้

ส่วนคำ "chaos" บัญญัติขึ้นโดย นักคณิตศาตร์ประยุกต์ เจมส์ เอ ยอร์ค (James A. Yorke)



เคออสมีพฤติกรรมดังนี้

    
ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เคออส หรือ คาออส (Chaos หรือ Khaos) เป็นสภาพแรกเริ่มของการมีอยู่อันเป็นต้นกำเนิดของเหล่าทวยเทพรุ่นแรก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ความว่างเปล่าอันมืดดำของอวกาศ

ในบทกลอนเมตามอร์โฟเซส(Metamorphoses) นักกวีโอวิด
(Ovid) ได้อธิบายเคออสว่าเป็น "มวลหยาบและยังไม่สมบูรณ์ กลุ่มก้อนที่ไม่มีชีวิต ไม่มีรูปแบบ ไม่มีขอบเขต ของเมล็ดพันธุ์อัยยุ่งเหยิง และเคออสก็ได้รับสมญาอันเหมาะสม" ด้วยเหตุนี้ คำว่า "chaos" จึงถูกนำมาใช้ในปัจจุบันโดยมีความหมายว่า "ความสับสนอย่างสิ้งเชิง"

ลักษณะสำคัญของเคออสมี 3 ประการหลักคือ


-เคออสเป็นหลุมลึกไร้ก้นที่ซึ่งหากมีอะไรตกลงไปก็จะตกลงไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ซึ่งตรงข้ามกับโลก (Earth) อย่างมาก ด้วยโลกกำเนิดออกมาจากความว่างเปล่านี้ แต่โลกประกอบด้วยพื้นดิน

-เคออสเป็นสถานที่ที่ปราศจากทิศทางที่แน่นอน โดยสิ่งต่างๆจะตกลงไปตามทิศต่างๆได้รอบ

-เคออสเป็นพื้นที่ว่างที่แยกโลก (Earth)  และท้องฟ้า (Sky) ออกจากกันและเคออสก็ยังคงสภาพคั่นกลางสองสิ่งนั้






Source :
Chaos Theory http://andromeda.qc.ca
http://www.marxist.com/science-old/chaostheory.html
http://www.chaostheory.com/



สรุปเชิงวิทย์ โดย อ.ชัยวัฒน์


"Butterfly Effect" หรือ "ปรากฏการณ์ผีเสื้อ" มีความที่มักกล่าวกันคือ "เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว" ครับ
คำกล่าวหรือปรากฏการณ์นี้ เป็นเรื่องของทฤษฎีเรียกว่า Chaos Theory ภาษาไทยยังไม่มีศัพท์บัญญัติที่ยอมรับกัน แต่ก็มีบางคำที่ใช้กันอยู่ เช่น ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือ ทฤษฎีแห่งความยุ่งเหยิง ทว่า ที่ใช้กันมากที่สุด คือ การเรียกทับศัพท์เป็น ทฤษฎีเคออส


ทฤษฎีเคออส เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ ที่เผิน ๆ ดูเหมือนจะไม่มีความเป็นระเบียบเลย มีแต่ความยุ่งเหยิง ทว่า ในความยุ่งเหยิงนั้น ตามทฤษฎีเคออส จริง ๆ แล้ว ก็มีความเป็นระเบียบที่ปรากฏซ้อนกันอยู่ มีกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ควบคุมอยู่ เช่น ปรากฏการณ์เกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศ
ตามทฤษฎีเคออส ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดสภาพความเป็นไปของปรากฏการณ์ หรือระบบคือ Initial Condition (เงื่อนไขเริ่มต้น หรือจุดเริ่มต้น) การเริ่มต้นที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดผลที่แตกต่างกันมาก
สำหรับคำกล่าว "เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว" แสดงถึงความกี่ยวพันของระบบที่ประกอบด้วย ทั้งดอกไม้บนโลก และดวงดาวในอวกาศ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดหนึ่ง จะมีผลต่อระบบทั้งระบบเสมอ
อีกคำกล่าวหนึ่งที่ชัดเจนกว่า และมีการกล่าวถึงผีเสื้อโดยตรง ซึ่งแสดงถึงหัวใจสำคัญของทฤษฏีเคออส และ "Butterfly Effect" คือ "ผีเสื้อกระพือปีกที่ปักกิ่งวันนี้ มีผลทำให้เกิด ทอร์นาโด ที่ฟลอริดา สหรัฐอเมริกาปีหน้า" ซึ่งเน้นความสำคัญของ Initial Condition คือ การกระพือปีกของผีเสื้อที่ปักกิ่งวันนี้ครับ
สำหรับผู้ค้นคิดทฤษฎีเคออส มีนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องหลายคน แต่ผู้ที่กล่าวถึงเรื่องของ เคออสอย่างค่อนข้างชัดเจนคนแรก คือ นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ จูลส์ เฮนรี พอนคาเร (Jules Henry Poincare) เมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ยี่สิบ ทว่า ทฤษฎีเคออส เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อศตวรรษที่ 70 เพราะความก้าวหน้าที่ชัดเจนขึ้นของทฤษฎีเคออส และที่สำคัญ นักวิทยาศาสตร์มีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำให้ทฤษฎีเคออส ก้าวออกจากการเป็นเพียงทฤษฎีอย่างเป็นนามธรรม มาสู่การแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม และการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างจริงจัง

(http://www.pantip.com/cafe/wahkor/article/chaiwat/cwt_bkkbz118.html  )




ทฤษฏีเกี่ยวแขนกับเคออส


ท่ามกลางความขัดแย้ง  กลุ่มคน  ผลประโยชน์  ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารอาจเป็นอาวุธที่ร้ายแรง...
ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ต้องมาทำความรู้จักกับ ทฤษฏีนี้หน่อย Conspiracy theory  "ทฤษฎีสมคบคิด" เคยได้ยินกันบ้างไหม  ใครเคยดูหนังดาร์วินชี อาจจะเคยได้ยินมาบ้างก็ได้นะ ...



Conspiracy theory  "ทฤษฎีสมคบคิด"


ทฤษฎีสมคบคิดปัจจุบัน คุณจะพบทฤษฎีนี้มากขึ้นเพราะ อาจจะตามสื่อทั้งหลายตามข้อมูลเอกสารทางเวปไซด์ จึงทำให้ในบางครั้งการรับข่าวสารจากภายนอกมีความผิดไปจากข้อเท็จจริงเพราะใครบางคนหรือกลุ่มคนหนึ่งอยากให้เป็นแบบนั่น ท่ามกลางยุคแห่งความแตกแยกของประเทศ ประเทศที่ประชาชนรับฟังข่าวสารที่ตนเชื่อ รับฟังสื่อ รับฟังทัศนะคติที่ตนเชื่อถือจนทำให้ความแตกแยกบานปลาย และถ่วงความเจริญของชาติ ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) คือ เรื่องเล่า บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่นๆเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลหนึ่งใด หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือน เกี่ยวข้องกันเท่านั้น อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับทางศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรมที่ แตกต่างไป เรื่องเหล่านี้นักวิชาการจะไม่ใช้อ้างอิง ผู้อ่านควรใช้วิจารณญานก่อนที่จะเชื่อเรื่องนั้นๆ ประเทศสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานที่จะดูแล และกลั่นกรองเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะ เดิมพบได้ในคอลัมน์เล็กๆหนังสือพิมพ์ประเภทเทบลอยด์ในต่างประเทศ ปัจจุบันพบได้มากในฟอร์เวริดเมล เว็บไซต์ส่วนบุคคล และบล๊อกต่างๆ


ทฤษฎีสมคบคิด .. เป็นทฤษฎีที่ประกอบไปด้วย - เรื่องนั้นๆมีทิศทางส่งเสริมพฤติกรรมเดิมๆ หรือความเชื่อที่มีอยู่ก่อนแล้ว ของเจ้าของเรื่อง - เรื่องนั้นๆ ไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้โดยง่าย - มักจะประกอบไปด้วยคำว่า ถ้าบังเอิญ, สมมติว่า ...

ตัวอย่างของทฤษฎีสมคบคิด
* ข้อกล่าวหาเรื่องมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องลวง
* ฮิตเลอร์ และ เอลวิส เพลสลีย์ ยังไม่ตายแต่ถูกมนุษย์ต่างดาวลักตัวไป
* โลกจะแตกในปี... เพราะจะมีกลุ่มอุกาบาตขนาดใหญ่เข้ามาในวงโคจร
ภาพยนต์เกี่ยวกับทฤษฎีนี้ได้แก่ DaVinci Code ผู้แต่งใช้ทฤษฎีนี้ทั้งเรื่องเลย เป็นการใส่ความคิดของตัวเองลงไป แล้วสร้างเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ขึ้นมาให้เชื่อมโยงกัน หรือที่คนไทยเรียกว่าเป็นตุเป็นตะนั่นล่ะครับ
อ้างอิง http://ekkzbeats.blogspot.com/2010/01/conspiracy-theory.html

อ่านเพิ่มเติม
http://74.125.153.132/search?q=cache:wTsDyZSq640J:www.watwatwitwit.com/index.php%3Flay%3Dshow%26ac%3Darticle%26Id%3D565828%26Ntype%3D3+conspiracy+theories+%2B%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th
http://en.wikipedia.org/wiki/Conspiracy_theory

ที่มา กูเกิลกูรู และ เนื้อหาจากคำค้นหน้ากูเกิล


Twitter Time Line : (19/08/2010 21.09)


เมื่อดอกไม้ถูกเด็ดไป ผีเสื้อไม่มีเกสร กระทบถึงสัตวเกี่ยงข้องไม่สมดุลนิเวศ เรื่องยุ่งเหยิงจึงเกิดขึ้น ทรัพยากรจากฝั่งโน้น.. cc @KILENKU #FM99


ทรัพย์ฯฝั่งโน้นย้ายมาฝั่งนี้ แม่เหล็กแปรปรวน ธรรมชาติผิดปกติ อุณหภูมิสูงเข้าหาต่ำอย่างเร็ว เกิดพายุและภัยด่วนๆขึ้น ผู้บริโภคสุดท้าย.. #FM99


คือคนจะยุ่งเหยิง เดือดร้อนจากผีเสื้อไม่มีเกสรดอกไม้ พาลทะเลาะแย่งทรัพยฯกัน สะเทือนไปทั้งดาวโลกนี้และอื่นๆ ในขณะที่ยุ่งเหยิงอยู่นั้น #FM99


แม้อลวนอยู่ จะมีคนกลุ่มหนึ่งคิดทางเดียวกัน จะร่วมกันเอาดอกไม้ไปคืนผีเสื้อ หรือ อาจกักทรัพยฯร่วมกัน เรียก "สมคบคิดกัน" บนเรื่องยุ่งๆ #FM99


มีอีกกลุ่ม คิดชนะธรรมชาติโดยคิดค้นสิ่งทดแทน และต้านธรรมชาติทุกรูปแบบ จนวัตถุนิยมอยู่บนคานไม้กระดกได้ ธรรมชาติรีเซ็ตก็จะยุ่งเข้ารอบเดิม #FM99


พอยุ่งๆเข้ารอบเดิม ก็จะพาลไปเอาชนะบิ๊กแบง หรือมิติอื่นที่จะเรียกดอกไม้คืนมา ซึ่งใช้คณิตนำจนสรุปเป็นกระดาษได้--> http://bit.ly/djYryM  #FM99





ภาคค้นคว้าต่อยอด เพื่อนำเคออสไปใช้งาน


(กำลังพิมพ์.....แต็กๆๆ แต็กๆๆ)



ไม่มีความคิดเห็น: