"ความรู้ ไม่ใช่ปัญญา" (Knowledge is not wisdom.) --ไอน์สไตน์--

ความรู้เป็นเรื่องของความความคิดตาม ประสบการณ์ การทดลอง หรือองค์แห่งสาระ มากมายตำรา มาให้อ่านและเพิ่มพูน แต่ปัญญาเป็นเรื่องทางจิตใจ ความเข้าใจ ประกอบโดยสติและรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรู้เท่าทันตนเอง ตรงนี้เอง "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไม่ได้เกิดจากความรู้เยอะ แต่น่าจะเกิดจากมีปัญญาไม่พอ ที่จะประคองชีวิตให้พ้นผ่านอุปสรรค (ขยายความจาก "ความรู้ ไม่ไช่ปัญญา - Khowledge is not wisdom" คำจาก ไอน์สไตน์)



วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศจ.โรบิน จอห์นสัน สร้างแบบการคำนวณเชิงเส้นของคลื่นทะเล เมื่อคลื่นทะเลแปรปรวนที่หนึ่งให้ระแวงไว้มันจะเกิดคลื่นยักษ์อีกที http://bit.ly/a9zg7K

จากบทความ "ไทยรัฐ" เสนอในมุมมองที่ผ่านมา
จึงนำมาต่อยอด หาเหตุ และ ความน่าจะเป็นของ ศจ.โรบิน ที่ใช้ทฤษฏีใดๆ คาดว่าจะเกิดอีก
และ อย่างไร



นักคณิตศาสตร์คิดสูตรคำนวณหาหัวใจคลื่นสึนามิ  มนุษย์เรือนแสนอาจไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มอีกแล้ว เพราะนักคณิตศาสตร์ได้คิดสูตร ที่จะบอกให้รู้ล่วงหน้าและความรุนแรงมากน้อยขนาดไหน

ศาสตราจารย์โรบิน จอห์นสัน แห่งมหาวิทยาลัย นิว คาสเซิล ได้ศึกษาวิจัยเหตุการณ์เมื่อคลื่นยักษ์สึนามิถล่มแถบริมฝังทะเลในไทย อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา รับเทศกาลคริสต์มาสเมื่อปี พ.ศ. 2547 ครั้งนั้นแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรลึก ได้ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์เป็นแนวยาว โถมถล่มริมฝั่งด้วยความเร็วอย่างน่าตกใจ ตามกันมารวม 6 ลูกด้วยกัน

ดร.โรบินเปิดเผยว่า คลื่นลูกที่สามนับเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สุด สูงถึง 20 เมตร ทรงพลังทำลายล้างมากที่สุด ซัดเอารถไฟทั้งขบวนตกรางที่ริมฝังของศรีลังกา สังหารชีวิตมนุษย์ไปเกือบ 1,000 คน

คณะนักวิจัยได้รายงานผลการศึกษา ในวารสารวิชาการ งานวิจัยการเคลื่อนไหวของของเหลว ว่า "เราพบว่าจำนวนและความสูงของคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ถล่มชายฝั่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะของคลื่นใต้น้ำลึกที่โผล่ขึ้นสู่ผิวน้ำตอนแรกอย่างสำคัญ จากจุดนี้ ทำให้เราสามารถดูออกมาได้ว่าคลื่นนำ เป็นท้องหรือหัวของคลื่น

หากเป็นท้องคลื่น ก็จะมีกระแสน้ำพุ่งนำหน้าคลื่นยักษ์สึนามิที่กำลังตามเข้ามา แต่ถ้าหากเป็นหัวคลื่น จะไม่มีการเตือนอันใดเลย นอกจากกำแพงน้ำที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว"

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ




Prof. Robin Johnson
Professor of Applied Mathematics
ประวัติ http://www.ncl.ac.uk/math/staff/profile/r.s.johnson

ประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์
•Nonlinear wave propagation with applications to water waves
•Soliton theory
•Singular perturbation theory
•Fluid mechanics



ผลงานน่าสนใจที่ตีพิมพ์เผยแพร่
Selected Publications
•Constantin A; Johnson RS. Propagation of very long water waves, with vorticity, over variable depth, with applications to tsunamis. Fluid Dynamics Research 2008, 40(3), 175-211.
•Johnson RS. Edge waves: theories past and present. Philosophical Transactions of The Royal Society of London A: Mathematical, Physical and Engineering Sciences 2007, 365(1858), 2359-2376.
•Constantin A & Johnson RS. Modelling tsunamis. J.Phys.A: Math. Gen 2006, 39, L215-217.
•Johnson RS. Some contributions to the theory of edge waves. Journal of Fluid Mechanics 2005, 524, 81-97.
•Johnson RS. Singular perturbation theory. New York: Springer, 2004.
•Johnson RS. On solutions of the Camassa–Holm equation. Proceedings of the Royal Society A: Mathematical, Physical and Engineering Sciences 2003, 459(2035), 1687-1708.
และ อื่นๆ

เอกสารเพื่อเทียบเคียงเป็นแนวคิดของการคำนวณล้วนเป็นหนังสือขายทั้งสิ้น
หาเอกสารออนไลน์ไม่ได้ขณะนี้  แต่สามารถสรุปประเด็นความคิดรวบยอดได้ว่า

สถิติเชิงเส้นของคลื่นในน้ำ ต้องจะแปรผันตามสภาวะบนผิวน้ำ อาทิ น้ำขึ้น น้ำลง กระแสลม จะมีสถิติในการเปลี่ยนแปลงความสูงที่สุดของคลื่นที่จะซัดเข้าหาฝั่งที่เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก หรืออยู่ในสภาวะปกติที่อยู่ในเขตที่เรียกว่า ปลอดภัย ภัยทางทะเล


หากวันใด สถิติเชิงเส้นของขึ้นสูงสุดจากสถิติ(เชิงเส้นของเดิม)แปรผลไปมาก และผิดปกติ มันจะมีผลต่อท้องคลื่น และความสูงของคลื่นมากที่สุด ที่ภูมิภาคทะเลอื่นได้  ซึ่งหมายความว่า อาจเกิด "ซึนามิ" ขึ้นในภูมิภาคนั้น  อาทิ เส้นกราฟแปรผลจากชายฝั่งแคนาดาผิดปกติ นำไปคำนวนทางเดินของคลื่นได้ว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของคลื่น(เชิงเส้น-2มิติ) จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ (ถ้าแผ่วลงก็จะไม่เข้าชายฝั่ง) ถ้ารุนแรงเรื่อยๆตามรูปแบบวิกฤติแล้ว จะไปมีความสูงของคลื่นสูงสุด (ประมาณ 20 เมตร)  ที่ฝั่งเอเซีย เมื่อนำผลกราฟของทุกชายฝั่งประเทศในเอเซียมาสังเกตความเคลื่อนไหว จะรู้ได้ว่า จะเกิดซึนามิ ขึ้น ณ ตำแหน่งใดในโลก ได้อย่างใกล้เคียงที่สุด


ซึ่งผู้เขียนบล็อกนี้ จะได้ค้นคว้า เรียบเรียง และนำเผยแพร่ต่อไป


อ้างอิงตามเว็บไซต์ข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น: